หน้าแรก





"สวัสดีครับทุกท่าน"
          "บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Embedded System หรือ ระบบฝังตัว ซึ่งจะรวบรวมเนื้อหาที่ได้เรียนมาไว้ในนี้ สำหรับท่านที่สนใจ สามารถเข้าไปศึกษาได้ครับ..."




รู้จักกับ Embedded Systems


              Embedded system  หรือ ระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว เป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นมาเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้ หมายถึงระบบที่มีการใช้ ตัวประมวลผล (CPU) และซอร์ฟแวร์เพื่อการควบคุมการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะหมายรวมไปถึงการใช้  micro controller และ microprocessor   ก่อนหน้านี้เราก็จะเรียกวิชานี้ว่า วิชาไมโครคอนโทรเลอร์ ซึ่งจะเรียนในมหาลัยต่างๆ ที่สอนทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า แต่เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้ราคาของ IC ชิบถูกลง และในเวลาเดียวกัน เครื่องมือในการพัฒนาก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ระบบมีความซับซ้อนมากขึ้น และถูกนำไปใช้งานมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไปเป็น Embedded System เนื่องจากไม่ได้หมายถึงแต่ ไมโครคอนโทรเลอร์อย่างเดียว แต่หมายรวมไปถึงระบบที่ใช้ cpu และ ซอร์ฟแวร์เพื่อควบคุมการทำงาน ทำให้การพัฒนาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำได้ง่ายขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
        ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัวได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้าน Hardware และ Software โดยระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัวนี้ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างหลากหลายอยู่แล้วในชีวิตประจำวันเช่น เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ หรือเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัวนับวันจะถูกไปใช้ในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ เครื่องจักรกลในโรงงาน ยุทโธปกรณ์ เป็นต้น เนื่องจากความสามารถที่หลากหลาย ความยืดหยุ่นในการใช้งาน รวมถึงราคาที่ถูกลงในปัจจุบัน การนำระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัวไปใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายมากเพียงแค่บอร์ดระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกเล็กน้อยก็สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย บอร์ดระบบฝังตัวในปัจจุบันก็มีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับวัถตุประสงค์การนำไปใช้เช่น บอร์ด Arduino เป็นบอร์ดขนาดเล็ก สามารถเรียนรู้ได้ง่ายมีโครงสร้างระบบ Software และ Hardware เป็นแบบOpensourceเหมาะสำหรับงานที่มีการคำนวณน้อยและระบบไม่ซับซ้อน หากต้องการทำงานที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สามารถใช้เป็น Raspberry Pi หรือ Beaglebone Black ซึ่งบอร์ดเหล่านี้มีความสามารถเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และมีPort รองรับกับการเชื่อมต่อภายนอกอย่างมากมายและมีระบบซอร์ฟแวร์เป็นแบบ Open source เช่นกัน
[ข้อมูลอ้างอิง : http://www.namwalab.com ]

สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านเล่นๆได้ ถ้าหากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

[ผู้จัดทำ  : Marooter1995]











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น